http://www.milanogossipnews.blogspot.com/
1.ทานมัยลำดับอานิสงส์ของทาน (ทานํ=การให้)
ให้แก่สัตว์เดรัจฉาน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้มนุษย์ 1 ครั้ง ให้แก่มนุษย์ 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้สมมติสงฆ์ 1 ครั้ง ให้กับสมมติสงฆ์ 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระโสดาบัน 1 ครั้ง ให้กับพระโสดาบัน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระสกิทาคามี 1 ครั้ง ให้กับพระสกิทาคามี 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระอนาคามี 1 ครั้ง ให้กับพระอนาคามี 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระอรหันต์ 1 ครั้ง ให้กับพระอรหันต์ 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระปัจเจกพุทธเจ้า 1 ครั้ง ให้กับพระปัจเจกพุทธเจ้า 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระพุทธเจ้า 1 ครั้ง ให้กับพระพุทธเจ้า 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้สังฆทาน 1 ครั้ง ให้สังฆทาน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้อภัยทาน 1 ครั้ง ให้อภัยทาน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้ธรรมทาน 1 ครั้ง ดังนั้น การให้ธรรมะย่อมชนะการให้ทั้งปวง ดังพุทธภาษิตที่ว่า “สพฺพทานํ ธมมทานํ ชินาติ”
2.สีลมัยรักษาศีล 5 ร้อยครั้ง ยังได้บุญไม่เท่า ทำสมาธิภาวนาเพียงครั้งเดียว
ทำสมาธิภาวนา (สมถภาวนา) ร้อยครั้ง ยังไม่เท่าภาวนาแล้วได้วิปัสนาญาณเพียงครั้งเดียวได้วิปัญณาญาณ 100 ครั้ง ยังไม่เท่าเป็น พระโสดาบัน"
ทำสมาธิภาวนา (สมถภาวนา) ร้อยครั้ง ยังไม่เท่าภาวนาแล้วได้วิปัสนาญาณเพียงครั้งเดียวได้วิปัญณาญาณ 100 ครั้ง ยังไม่เท่าเป็น พระโสดาบัน"
3.ภาวนา แปลว่า การทำให้มีขึ้น ทำให้เกิดขึ้น ได้แก่ การฝึกอบรมจิตใจให้เกิดความสงบ ขั้นสมาธิและปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงข้อปฏิบัติไว้ ๒ ประการ คือ สมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา
4.อปจายนมัย บุญเกิดจากการอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ แต่การอ่อนน้อมนั้นต้องอ่อนน้อมต่อบุคคลที่ควรอ่อนน้อม วุฑฒบุคคล ซึ่งมีอยู่ ๓ ประเภท คือ
"เจริญกาย ศีล จิต และปัญญา"
เรื่องของภาวนานั้นย่อมได้ผลตามสมควรแก่ผู้ปฏิบัติจากเบื้องต้น จนกระทั่งทำให้บรรลุพระอรหันต์ก็ได้ ภาวนาจึงเป็นทั้งจุดเริ่มต้นของการทำบุญและเป็นทางที่นำไปสู่อมตมหานิพพานได้ในที่สุด บุญที่เกิดจากการภาวนาจึงนับว่าเป็นบุญขั้นสูงที่สุดในพระพุทธศาสนา
๑. วัยวุฑฒะ คือ คนที่แก่กว่าเรา อายุมากกว่าเรา เช่น พี่ ป้า น้า อา ผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า
ผู้ใดมีความเห็นชอบ เห็นตรง ทั้ง ๑๐ อย่างนี้ ชื่อว่าทำความเห็นให้ตรง เป็นทิฏฐุชุกัมม์ เป็นสัมมาทิฐิ ถ้าเห็นตรงกันข้ามก็เป็นมิจฉาทิฐิ
บุญทุกประเภทเป็นตัวนำสุขมาให้ ทั้งโจรจะลักไปก็ไม่ได้ ทั้งสามารถนำติดตัวไปได้ด้วย แม้เมื่อตายไปแล้ว ไม่เหมือนทรัพย์สมบัติ เมื่อตายแล้วก็ทิ้งไว้หมดสิ้นแม้แต่รูปร่างกาย
๒. ชาติวุฑฒะ คือ คนที่มีชาติกำเนิดสูงกว่าเรา คือ พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระราชโอรส พระราชธิดา แม้จะมีอายุน้อยกว่าเรา แต่ชาติตระกูลสูงก็ควรแสดงความเคารพ เพราะเป็นไปเพื่อความเจริญ
๓. คุณวุฑฒะ คือ คนที่มีคุณธรรมสูงกว่า เช่น พระภิกษุสามเณร แม้จะมีอายุน้อยกว่า เราก็ควรนอบน้อมถ่อมตนต่อท่าน เพราะท่านมีคุณธรรม คือ ศีลสูงกว่าเรา หรือคนที่มีบุญคุณต่อเรา เช่น พ่อ แม่ หรือ ครูอาจารย์ เพราะท่านมีคุณต่อเรา หรือต่อสังคม
5. เวยยาวัจจมัย บุญเกิดจากการขวนขวายในกิจที่ชอบ
การช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ คือ การช่วยในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นต่อส่วนรวมจัดเป็นบุญประการหนึ่ง เช่น ช่วยเขาสร้างสะพาน สร้างถนน ขุดคลอง ขุดสระ ขุดบ่อน้ำ สร้างศาลา สร้างวัด สร้างโรงพยาบาลปลูกต้นไม้ ทำถนนหนทางให้สะอาด ช่วยกวาดวัด ด้วยกำลัง กาย หรือช่วยงานบวชนาค งานกฐิน หรือช่วยงานทำบุญเลี้ยงพระ ช่วยนิมนต์พระ หรือช่วยขับรถรับส่งพระ หรือคนที่มาช่วยในงานเป็นต้น ทั้งหมดนี้จัดเป็นบุญทั้งสิ้น
แม้การช่วยเหลือคนเจ็บป่วย คนตกน้ำ คนถูกรถชน หรือคนประสบอุบัติเหตุต่าง ๆ ก็เป็นบุญ แม้แต่ช่วยนำคนแก่ข้ามถนนให้ปลอดภัย และชี้ทางให้แก่คนหลงทางก็จัดเป็นเวยยาวัจจมัย อันจัดเป็นบุญทั้งสิ้น
6.ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการแบ่งส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น (ขออธิบายยาวนิด)
- แบ่งส่วนบุญนั้นให้แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่
- อุทิศส่วนบุญนั้น ให้แก่ผู้ที่ล่วงลัไปแล้ว
- อุทิศส่วนบุญนั้น ให้แก่เทวดา ชื่อว่า "เทวตาพลี"
"แบ่งส่วนบุญนั้นให้แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่" อุปมาของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นว่า "ข้าวยาคูกระบวยหนึ่ง หรือทัพพีหนึ่งก็ตาม เมื่อบุคคลนั้น แบ่งส่วนในทานของตนให้แก่ ผู้อื่น ให้แก่คนมากเท่าใด บุญนั้นย่อมเจริญ เหมือนเมื่อแบ่งบุญนี้ให้เศรษฐีก็เท่ากับว่าเพิ่มบุญ เป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นของท่าน อีกส่วนหนึ่งเป็นของเศรษฐี เปรียบเหมือน ประทีปที่จุดไว้ในเรือนหลังเดียว เมื่อมีผู้นำประทีปอื่นมาขอต่อไฟ อีกร้อยดวง พันดวงก็ตาม ประทีปดวงแรก ในเรือนนั้นก็ยังมีแสงสว่างอยู่ และประทีปอีกร้อยดวง พันดวง ที่ต่อออกไปก็ยิ่งเพิ่มแสงสว่างให้สว่างอีกเป็นทวีคูณ ดุจบุญที่แม้แบ่งใครๆ แล้ว บุญนั้น ก็ยังมีอยู่มิได้หมดสิ้นไป ฉะนั้น"
"อุทิศส่วนบุญนั้น ให้แก่ผู้ที่ล่วงลัไปแล้ว" . . . . . ในอังคุตตรนิกาย ทสกนิกาต ชาณุสโสณีสูตร ข้อ ๑๖๖ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบ ข้อสงสัย ของชาณุสโสณี พราหมณ์ ว่า ในบรรดา สัตว์ ทั้งหลาย มีสัตวนรก สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา และเปรตทั้งหลาย มีเปรตจำพวกเดียวที่ได้รับส่วนบุญที่มีผู้อุทิศไปให้ เพราะวิสัยของเปรต ย่อมยังชีพอยู่ด้วยทานที่หมู่ญาติ หรือหมู่มิตรสหายให้ไปจากมนุษย์โลกนี้เท่านั้น
ส่วนสัตว์เหล่าอื่นที่ไม่ได้รับเพราะเหตุว่า
. . . . "สัตว์นรก" มีกรรมเป็นอาหาร มีกรรมเป็นเป็นผู้หล่อเลี้ยงอุปถัมภ์ ให้สัตว์นรกนั้นๆ มีชีวิตอยู่
. . . . "สัตว์เดรัจฉาน" มีชีวิตอยู่ด้วย ข้าว น้ำ หญ้า และเนื้อสัตว์ เป็นต้น
. . . . "มนุษย์" มีชีวิตอยู่ด้วยอาหารมี ข้าวสุก และขนม เป็นต้น
. . . . "เทวดา" มีอาหารทิพย์ มิได้บริโภคอาหารเช่นเดียวกับมนุษย์
. . . . ส่วน "เปรต" นั้น ไม่มีการทำไร่ ไถนา ไม่มีการเลี้ยงโค ไม่มีการค้าขาย เปรต มีชีวิตอยู่ด้วยการให้ของผู้อื่นแต่อย่างเดียว เพราะฉะนั้น เปรตจึงอยู่ในฐานะที่จะรับส่วนบุญที่มีผู้อุทิศไปให้
เหมือน พระเจ้าพิมพิสารอุทิศส่วนบุญที่ได้ถวายทานแล้ว ให้แก่เปรตผู้เป็นญาติสายโลหิต ทั้งหลาย ที่รอคอย มาเป็นเวลานาน ดังในขุททกนิกายขุททกปาฐะ ติโรกุฑฑสูตร อรรถกถา กล่าวว่า
- ในขณะที่พระเจ้าพิมพิสาร ถวายข้าวยาคู ของเคี้ยว ของกิน แล้วทรงอุทิศว่า ขอทานนี้จงถึงแก่พวกญาติทั้งหลาย ทันใดนั้น ข้าวยาคู ของเคี้ยว ของกินอันเป็นทิพย์ ก็บังเกิดแก่เปรตเหล่านั้น ให้อิ่มหนำ สำราญ มีอินทรีย์อิ่มเอิบ
- ในขณะที่พระราชานั้น ถวายผ้า และเสนาสนะเป็นต้น แล้วทรงอุทิศว่า ขอทานนี้จงถึงแก่พวกญาติทั้งหลาย ทันใดนั้นเอง ผ้าทิพย์ ยานทิพย์ ปราสาททิพย์ เครื่องปูลาด และที่นอน อันเป็นทิพย์ บังเกิดขึ้นแล้ว แก่เปรตเหล่านั้น ได้สวมใส่ใช้สอย
- ในขณะที่พระราชา หลั่งน้ำทักษิโณทก (กรวดน้ำ) ทรงอุทิศว่า ขอทานเหล่านี้จงถึงแก่พวกญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลายจงมีความสุข ทันใดนั้นเอง สระโบกขรณีดาษด้วยปทุม ก็บังเกิดแก่พวกเปรตเหล่านั้น ให้ได้อาบ ดื่มกิน ระงับความกระหายกระวนกระวายได้แล้ว มีผิวพรรณดุจทอง
การให้ส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เขาจะตายไปแล้วนานเท่าไรก็ได้ จะอุทิศเป็นภาษาไทยก็ได้ เป็นภาษาบาลี หรือภาษาอื่นใดก็ได้ มีน้ำกรวดก็ได้ ไม่มีน้ำกรวดก็ได้ มีกระดูกและชื่อของผู้นั้นก็ได้ ไม่มีก็ได้ ย่อมสำเร็จทั้งสิ้น
อย่างในกรณีเปรตผู้เป็นพระญาติของพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์ก็ทรงจำชื่อพระญาติเหล่านั้นไม่ได้แม้แต่คนเดียว พระองค์อ้างในคำอุทิศว่า เป็นญาติเท่านั้นก็ถึงได้ เพราะเปรตผู้เป็นญาติเหล่านั้นกำลังรอรับส่วนบุญอยู่แล้ว ดังคำบาลีที่พระองค์อุทิศส่วนกุศลแก่พระญาติของพระองค์หลังจากที่พระองค์ทรงบริจาคทานแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขว่า
"อิทํ เม ญาตีนํ โหตุ ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า สุขิตา โหนตุ ญาตโย ขอญาติทั้งหลายจงถึงความสุข"
เพียงเท่านี้ก็สำเร็จ โดยพระองค์ไม่ได้บ่งชื่อญาติเหล่านั้นเลยแม้แต่พระองค์เดียว และในการกรวดน้ำครั้งนั้นไม่ต้องใช้น้ำเลย
การอุทิศส่วนบุญโดยมีน้ำกรวดเพิ่งนำมาใช้ในยุคหลังนี้เอง คือหลังจากครั้งพุทธกาล แต่จะเกิดขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่เท่าไร ยังหาหลักฐานไม่พบ
กล่าวกันว่า พุทธศาสนิกชน ในประเทศอินเดียเห็นพราหมณ์ลงไปในแม่น้ำคงคา เอามือวักน้ำแล้วหยอดลงไปในแม่น้ำตามเดิม พร้อมกับกล่าวอุทิศว่า "ขอให้น้ำนี้จงถึงแก่พ่อแม่ของข้าพเจ้า"
พุทธศาสนิกชนเห็นพวกพราหมณ์กรวดน้ำเช่นนี้ จึงเห็นว่าเข้าทีดี จึงได้นำน้ำมาประกอบในการอุทิศส่วนกุศล เรียกกันในปัจจุบันว่า "การกรวดน้ำ" พระสงฆ์เห็นว่าไม่ผิดหลักพุทธศาสนาอันใด จึงอนุโลมให้ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน
แท้ที่จริง การอุทิศส่วนกุศลที่เรียกว่าปัตติทานมัยนั้น เดิมทีไม่ต้องใช้น้ำเลย ฉะนั้น การอุทิศส่วนกุศล จะมีน้ำด้วยก็ได้ ไม่มีก็ได้ ย่อมสำเร็จทั้งสิ้น
แต่การอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ไปเกิดเป็นเปรตนั้น บุญนั้นจะต้องเกิดจากทานเท่านั้น และเปรตที่จะได้รับส่วนบุญนี้ก็เฉพาะ ปรทัตตูปชีวิเปรต คือ เปรตที่อาศัยทานที่คนอื่นให้ ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์อย่างนี้
การที่พวกเปรตจะได้รับส่วนบุญนั้น ต้องประกอบด้วยปัจจัย ๓ ประการ คือ
๑. การอุทิศของผู้ให้
๒. การอนุโมทนาของเปรต
๓. ปฏิคาหก (ผู้รับทาน) เป็นผู้ทรงศีล
ต้องพร้อมทั้ง ๓ ประการนี้ จึงจะสำเร็จผล ถ้าขาดแม้ข้อเดียว เช่น ปฏิคาหกไม่มีศล บุญก็ไม่ถึง อันปฏิคาหกผู้รับทานนั้นไม่จำเป็นต้องได้ภิกษุสามเณรผู้ทรงศีลเท่านั้นเสมอไป ในคัมภีร์ท่านกล่าวไว้ว่า แม้อุบาสกผู้ทรงศีลก็สามารถทำให้ทานสำเร็จแก่พวกเปรตได้เช่นกัน ดังมีตัวอย่างปรากฏอยู่ในเรื่องนางเวมาณิกาเปรต ในอรรถกถาเปตวัตถุ.
"การอุทิศส่วนบุญให้แก่เทวดา เรียกว่า เทวตาพลี "
. . . . . ในปรมัตถทีปนี อรรถกถา ปาฏลิคามิยสูตร แสดงไว้ว่า บุคคลเมื่อถวายปัจจัย ๔ แก่สงฆ์แล้ว พึงอุทิศส่วนบุญนั้นให้แก่เทวดาด้วย เพราะว่าคนที่อุทิศส่วนบุญให้แก่เทวดาแล้ว เทวดาย่อมคุ้มครองรักษาผู้นั้น เพราะเทวดาพากันคิดว่า คนเหล่านี้แม้จะมิได้เป็นญาติกับเราก็ยังให้ส่วนบุญแก่เราได้ ฉะนั้น เราควรอนุเคราะห์พวกเขาตามสมควร
. . . . อนึ่งพึงเข้าใจว่า เทวดา เมื่อท่านทราบแล้ว ท่านอนุโมทนากุศลนั้นด้วย ท่านก็เพียงแต่เกิดกุศลจิตพลอยยินดีด้วยเท่านั้น ท่านมิได้รับผลของทาน ที่มีผู้อุทิศไปโดยตรง เหมือนอย่างเปรตที่ได้รับ
7.ปัตตานุโมทนา การอนุโมทนาในส่วนบุญ ที่ผู้อื่นแบ่งให้ หรือพลอยยินดีด้วยในส่วนบุญที่ผู้อื่นกระทำ
- การอนุโมทนาบุญที่มีผู้แบ่งให้
คาถาธรรมบท พราหมณวรรค เรื่องพระโชติกะเถระ แสดงไว้ว่า กฎุมพีสองพี่น้อง ในกรุงพาราณาสี ทำไร่อ้อยไว้เป็นอันมาก วันหนึ่งกฎุมพีผู้น้องไปไร่อ้อย ถือเอาอ้อยมาสองลำคิดจะให้พี่ชายด้วย ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็มีจิตเลื่อมใสได้ถวายอ้อยในส่วนของตนลงในบาตร ตั้งความปรารถนาว่า "ด้วยผลแห่งรส (อ้อย) อันเลิศนี้ ข้าพเจ้าพึงได้เสวยสมบัติในเทวโลก และมนุษยโลก ในที่สุดพึงบรรลุธรรมที่ท่านบรรลุแล้วนั่นแล"
เมื่อท่านฉันแล้ว เขาจึงได้ถวายอ้อย ส่วนที่สอง อันเป็นส่วนของพี่ชายลงในบาตรอีก ด้วยคิดว่า เราจักให้มูลค่าหรือส่วนบุญแก่พี่ชาย พระปัจเจกพุทธเจ้าอนุโมทนาแล้ว เหาะไปสู่ภูเขาคันธมาทน์ ถวายน้ำอ้อยนั้นแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าอีก ๕๐๐ องค์ที่ภูเขานั้น กฎุมพีผู้น้องเห็นเหตุการณ์นั้นเกิดปีติ กลับไปเล่าให้พี่ชายฟัง ถึงเหตุนั้น ถามพี่ชายว่า "พี่จักรับเอามูลค่าอ้อยนั้น หรือจักรับเอาส่วนบุญ" พี่ชายมีจิตเลื่อมใส ไม่รับเอามูลค่า ขออนุโมทนาส่วนบุญจากกกฎุมพีผู้น้องด้วยใจโสมนัส ตั้งความปรารถนาว่า "ขอเราพึงได้บรรลุธรรมที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเห็นนั้นเถิด"
- การพลอยยินดีด้วยในบุญที่ผู้อื่นกระทำ
ในขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ความย่อมีว่า พระอนุรุทธะถามนางเทพธิดาว่า "ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เมื่อท่านฟ้อนอยู่ เสียงอันเป็นทิพย์น่าฟังรื่นรมย์ใจ ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วน ทั้งกลิ่นทิพย์อันหอมหวลก็ฟุ้งออกจากกายทุกส่วน เสียงของเครื่องประดับ ช้องผมที่ถูดรำเพยพัดก็กังวานไพเราะดุจเสียงดนตรี แม้พวงมาลัยบนเศียรเกล้าของท่าน ก็มีกลิ่นหอมชวนเบิกบานใจ หอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดูกร นางเทพธิดา อาตมาขอถามว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร"
นางเทพธิดาตอบว่า "ข้าแต่พระคุณเจ้า นางวิสาขามหาอุบาสิกา ผู้สหายของดิฉัน ที่อยู่ในเมืองสาวัตถี ได้สร้างวิหารถวายสงฆ์ ดิฉันได้เห็นวิหารนั้น มีจิตเลื่อมใสอนุโมทนาพลอยยินดีด้วยในบุญนั้นของนาง ก็วิมานและสมบัติทุกอย่างที่ดิฉันได้แล้วนี้ เพราะการพลอยยินดีโมทนาบุญของสหายนั้น ด้วยจิตอันบริสุทธิ์อย่างเดียวเท่านั้น"
แม้ว่าจะยังไม่มีใครบอกบุญให้ก็อนุโมทนาเช่น เห็นคนกำลังใส่บาตร มีจิตยินดีอนุโมทนาด้วยในบุญนั้น ก็นับเป็นบุญ
8.ธัมมัสสวนมัย บุญเกิดจากการฟังธรรม
ในสมัยพุทธกาล การเข้าใจพระพุทธศาสนาและการบรรลุมรรคผลส่วนใหญ่แล้ว เนื่องมากจากการฟังธรรมทั้งสิ้น เพราะไม่มีสื่อการฟังอย่างอื่นหนังสือก็มีใช้กันน้อยมาก การอ่านหนังสือ การฟังเทป การดูทางโทรทัศน์ ถ้าเกี่ยวกับเรื่องธรรมะแล้วก็เกิดบุญทั้งสิ้น
การฟังธรรม ถ้าฟังแล้วไม่เข้าใจ ได้แต่ความเสื่อมใสอย่างเดียว เช่น ผู้ที่ไม่รู้ภาษาบาลี ฟังเสียงสวดมนต์หรือฟังพระสวดอภิธรรมในงานศพ ไม่รู้ไม่เข้าใจ ได้แต่ความเลื่อมใสอย่างเดียว อย่างนี้ท่านกล่าวว่าได้แต่บุญไม่ได้กุศล เพราะกุศล แปลว่า "ความฉลาด"
ฉะนั้น การฟังธรรมจะมีอานิสงส์มากก็ต่อเมื่อผู้ฟังตั้งใจฟังการฟังธรรม ถ้าให้ได้ประโยชน์มาก ผู้ฟังจะต้องตั้งใจฟังจริง ๆ มุ่งฟังเอาเนื้อหาสาระ เพื่อนำไปปฏิบัติและสั่งสอนผู้อื่น จึงจะเกิดปัญญาความรู้ความเข้าใจได้มาก ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ.
ผู้ตั้งใจฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา
9.ธัมมเทสนามัย บุญเกิดจากการแสดงธรรม
การแสดงธรรมนี้ จัดเป็นทานอย่างหนึ่ง เรียกว่า "ธรรมทาน" เป็นทานที่มีผลมากกว่าทานทั้งปวง ดังพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า "สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้พระธรรมชนะการให้ทั้งปวง
ทั้งนี้ก็เพราะว่า คนจะให้ทานก็ดี จะรักษาศีลก็ดี จะเจริญภาวนาก็ดี ก็ต้องอาศัยได้ฟังธรรมมาก่อน เขาจึงได้ทำบุญประเภทอื่น ๆ ถ้าไม่ได้ฟังธรรมมาก่อนแล้ว คนจะไม่ทำบุญอันใด แม้ใครจะทำบุญบ้างตามอัธยาศัยของตน แต่บุญนั้นก็มีผลน้อย เพราะทำไม่ถูกวิธี เพราะขาดผู้แนะนำสั่งสอน
บุญอันเกิดจากการแสดงธรรมนั้น ไม่ใช่การพูดอย่างเดียว แม้การเขียนหนังสือธรรมะ การพิมพ์หนังสือธรรมะ หรือการให้ทุนในการพิมพ์หนังสือธรรมะออกเผยแพร่ก็จัดเข้าในบุญข้อนี้ทั้งสิ้น แม้การบริจาคทุนทรัพย์ในการพิมพ์หนังสือธรรมะ หรือซื้อหนังสือธรรมะ หรือพระไตรปิฎกถวายพระ ถวายไว้ประจำวัด หรือแจกคนทั่วไป ก็จัดเป็นธรรมทาน คือ บุญอันเกิดจากการให้ธรรมะะป็นทานได้เช่นกัน
แม้การแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ลูกหลาน หรือญาติมิตร ให้เข้าถึงธรรม ให้ประพฤติธรรม ให้รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ก็จัดเป็นบุญในข้อแสดงธรรม การที่พ่อแม่แนะนำสั่งสอนลูกให้ประพฤติดี หรือพี่แนะนำน้องให้ละชั่วประพฤติดี ก็จัดเป็นบุญข้อนี้ทั้งสิ้น
10.ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง
การทำความเห็นให้ตรง คือ มีสัมมาทิฏฐิ-เห็นชอบนั่นเอง คือเห็นตรงตามทำนองคลองธรรม จัดเป็นบุญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ส่วนการเห็นผิด จากทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว บาปบุญไม่มี นรกสวรรค์ไม่มี ตายแล้วสูญ เป็นต้น เป็นมิจฉาทิฐิ เป็นอกุศลกรรมบถ จัดเป็นบาป แม้ไม่ได้ทำชั่วด้วยกาย หรือวาจา แต่ถ้ามีความคิดเห็นเช่นนี้ก็จัดเป็นบาป และบาปมากถึงขั้นห้ามสวรรค์ห้ามนิพพานทีเดียว เพราะจิตตั้งไว้ผิดหลงทางเสียแล้ว จึงไม่ยอมทำความดี มีแต่จะทำความชั่วถ่ายเดียว ส่วนการทำความเห็นให้ตรง เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น แม้ผู้นั้นยังไม่ทำดีด้วยกาย หรือว่าไม่ทำดีด้วยกาย หรือวาจา เป็นเพียงแต่เห็นถูก เห็นตรงเท่านั้น ก็จัดเป็นบุญ และเป็นบุญที่ครบคลุมบุญอื่นทั้งหมด เพราะเมื่อคนเราเห็นถูกเห็นตรงเป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว ก็ย่อมทำบุญประเภทอื่น ๆ ด้วยความสนิทใจและตั้งใจทำ สัมมาทิฏฐิ ๑๐
บุญทุกประเภทเป็นตัวนำสุขมาให้ ทั้งโจรจะลักไปก็ไม่ได้ ทั้งสามารถนำติดตัวไปได้ด้วย แม้เมื่อตายไปแล้ว ไม่เหมือนทรัพย์สมบัติ เมื่อตายแล้วก็ทิ้งไว้หมดสิ้นแม้แต่รูปร่างกาย ดังคำกลอนที่ว่า
ทิฏฐุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ หมายถึง สัมมาทิฏฐิ ๑๐ คือ มีความเห็นตรง เห็นถูกต้องตามความเป็นจริงใน ๑๐ เรื่อง โดยเห็นว่า
๑. การให้ทานมีผล
๒. การบูชามีผล
๓. การต้อนรับแขกด้วยของต้อนรับมีผล
๔. ผลของกรรมดีกรรมชั่วมี
๕. โลกนี้มี (คือสัตว์จากโลกอื่นมาเกิดในโลกนี้มี)
๖. โลกอื่นมี (คือสัตว์จากโลกนี้ไปเกิดในโลกอื่นมี)
๗. มารดามีคุณ
๘. บิดามีคุณ
๙. สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะ (เช่น เทวดาและเปรต) มี
๑๐. สมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติชอบ ทราบชัดถึงโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาได้เอง และสามารถให้ผู้อื่นรู้ได้ด้วย มี (คือ พระอรหันต์มี)
จิตที่ตั้งไว้ถูกทางนั้น ย่อมนำความสุขความเจริญมาให้แก่เจ้าของได้มาก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในคัมภีร์ธรรมบทว่า
น ตํ มาตา ปิตา กยิรา อญฺญเฌ วาปิจ ญาตกาสมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ เสยฺยโส นํ ตโต กเร.
น ตํ มาตา ปิตา กยิรา อญฺญเฌ วาปิจ ญาตกาสมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ เสยฺยโส นํ ตโต กเร.
ขอขอบคุณข้อมูลจากที่ต่างๆ และขอแบ่งเป็นความรู้และให้ร่วมอนุโมทนาสาธุเผยแพร่กันครับ
http://www.milanogossipnews.blogspot.com/
http://www.milanogossipnews.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น